เลือกตั้ง 2566 – "เรืองไกร" ร้องกกต.ตรวจสอบเซ็น MOU ตั้งรัฐบาล
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรค พลังประชารัฐ เดินทางเข้าให้ถ้อยคำกรณีหุ้นสื่อ ITV ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พร้อมกับยื่นหนังสือร้องเรียนกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เพื่อขอให้ตรวจสอบพรรคก้าวไกล รวมถึงพรรคการเมืองอีก 7 พรรค ที่ร่วมกันลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) ในการจัดตั้งรัฐบาลเมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยอาจเข้าข่ายกระทำการฝ่าฝืน พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง โดยแต่ละข้อที่มีการลงนามบันทึกข้อตกลง
มีประเด็นที่น่าสงสัยตรงคำว่า บันทึกข้อตกลงร่วม ไม่ตรงกับคำว่าบันทึกความเข้าใจร่วมกันในการจัดตั้งรัฐบาลและ คำว่าผู้แทนราษฎร์ที่ถูก ควรเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ นอกจากนี้ในรัฐธรรมนูญมีการบัญญัติว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ และสมาชิกวุฒิสภา ย่อมเป็นแทนปวงชนชาวไทย ไม่อยู่ในความผูกมัดหรือการครอบงำใดๆ
และมองว่าสำหรับพรรคการเมืองที่มีคณะกรรมการบริหารพรรคเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินกิจกรรมของพรรคตามข้อบังคับ ต้องกระทำด้วยความรอบคอบ และต้องรับผิดชอบร่วมกันในเรื่องของมติต่างๆ และที่สำคัญ
คือ ห้ามมิให้พรรคการเมืองยินยอมหรือกระทำการใดอันทำให้บุคคลอื่น ซึ่งมิใช่สมาชิกพรรคครอบงำ หรือชี้นำไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งการเซ็น MOU ในลักษณะนี้ก็เหมือนยินยอมให้พรรคการเมืองครอบงำกันเอง ซึ่งหากพบว่ามีมูลความผิดจริงก็อาจถึงขั้นยุบพรรคการเมืองที่มีการเซ็น MOU ทั้ง 8 พรรค
นายเรืองไกร ระบุว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้น โดยเฉพาะข้อบังคับพรรคก้าวไกลเมื่อปี 2563 ไม่พบการกำหนดที่เกี่ยวกับการลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันในการจัดตั้งรัฐบาล อีกทั้งในเรื่องของอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าพรรคได้มีข้อกำหนดไว้ชัดเจน จึงเห็นได้ว่าพรรคการเมืองทั้ง 8 พรรค ที่ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันในการจัดตั้งรัฐบาล อาจขัดต่อข้อบังคับของพรรคก้าวไกลด้วย และยังอาจทำให้บุคคลอื่นเข้าใจได้ว่าแต่ละพรรคการเมืองต่างฝ่ายต่างยินยอมให้หัวหน้าพรรคการเมืองที่เป็นบุคคลอื่น ซึ่งไม่ใช่สมาชิกกระทำการอันเป็นการควบคุม ครอบงำ กิจกรรมของพรรคการเมืองในลักษณะที่ทำให้ขาดความอิสระไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม จึงมีเหตุอันควรให้ กกต.ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวคำพูดจาก สล็อต777