ค่าเงินบาทอ่อนค่า 38.17 บาท หวั่นเศรษฐกิจโลกชะลอ ถึงขั้นถดถอยในปีหน้า
น.ส.กาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดเช้าวันนี้ 12 ต.ค. ปรับตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 38.15-38.17 บาทต่อดอลลาร์ (08.50 น.) ใกล้เคียงระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 38.17 บาทต่อดอลลาร์ โดยเงินบาทน่าจะยังเคลื่อนไหวในกรอบอ่อนค่าตามทิศทางสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย (นำโดย เงินเยน และเงินหยวน)
ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ หลัง IMF ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกปีหน้าลงมาที่ 2.7% จากคาดการณ์เดิมที่ 2.9% โดยในช่วงเช้าวันนี้ เงินเยนร่วงแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 24 ปีครั้งใหม่ ซึ่งทำให้ตลาดเพิ่มโอกาสความเป็นไปได้ที่จะเห็นทางการญี่ปุ่นเข้าดูแลตลาดในระหว่างวัน
ส่วนเงินดอลลาร์ ยังแข็งค่าขึ้นต่อตามการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ โดยบอนด์ยีลด์สหรัฐ ระยะ 10 ปีขยับขึ้นแตะระดับ 4.00% อีกครั้งเมื่อคืนที่ผ่านมา ขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดยังคงส่งสัญญาณว่า เฟดจะต้องคุมเข้มต่อเนื่องเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ซึ่งจากท่าทีดังกล่าวยิ่งทำให้ข้อมูล CPI ของสหรัฐ ที่จะรายงานในวันพฤหัสบดีเป็น highlight สำคัญที่ตลาดรอติดตามอย่างใกล้ชิด
สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ คาดไว้ที่ 37.95-38.25 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามจะอยู่ที่ทิศทางเงินทุนต่างชาติ สถานการณ์ค่าเงินเอเชีย รายงานการประชุมเฟด และตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตของสหรัฐ
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า มีความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงหนักและเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้า เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่กดดันบรรยากาศในตลาดการเงิน หลังจากที่ IMF ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจโลกในปีหน้าเหลือ 2.7% และปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐ ลงสู่ระดับ 1.0% ในปีหน้า แนวโน้มการชะลอตัวลงหนักของเศรษฐกิจส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดกังวลว่า ผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มแย่ลงตามเช่นกัน
สำหรับวันนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตาม รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน ซึ่งหากบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่มีการปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการในอนาคต หรือ ผู้บริหารต่างแสดงความกังวลแนวโน้มผลประกอบการมากขึ้น ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดยิ่งกังวลผลกระทบการชะลอตัวของเศรษฐกิจต่อแนวโน้มผลกำไร กดดันให้ตลาดการเงินยังคงอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยงต่อเนื่องได้
ส่วนในฝั่งเอเชีย ตลาดคาดว่า ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) จะเร่งขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% สู่ระดับ 3.50% เพื่อคุมปัญหาเงินเฟ้อ (ล่าสุดยังสูงกว่า 5.6%) และลดแรงกดดันต่อค่าเงิน KRW รวมถึงฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติที่ไหลออกต่อเนื่อง
ขณะที่แนวโน้มค่าเงินบาท คงมุมมองเดิมว่า เงินบาทมีแนวโน้มผันผวนในฝั่งอ่อนค่าได้ หากตลาดยังคงอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง ซึ่งยังเป็นปัจจัยที่หนุนให้ผู้เล่นในตลาดต่างเลือกที่จะถือเงินดอลลาร์ นอกจากนี้ เรามองว่า มีโอกาสที่เงินบาทอาจอ่อนค่าทดสอบแนวต้าน 38.30 บาทต่อดอลลาร์ โดยเฉพาะในกรณีที่ เงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI สหรัฐ ที่จะรายงานในวันพรุ่งนี้ ออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาด (สูงกว่า +6.5%y/y และ สูงกว่า +0.5%m/m)
ทั้งนี้ ควรจับตาทิศทางราคาทองคำ โดยหากราคาทองคำไม่ได้ปรับตัวลงแรง สามารถทรงตัวเหนือแนวรับ 1,670 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และรีบาวด์ขึ้นได้ มองว่า เงินบาทก็อาจจะไม่ได้อ่อนค่าไปมาก อย่างไรก็ดี หากเงินบาทอ่อนค่าทะลุโซนแนวต้าน 38.30 ก็มีโอกาสที่จะเห็นเงินบาทอ่อนค่าต่อไปทดสอบ 38.50-38.75 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่เรามองว่า ผู้เล่นในตลาดที่มีสถานะ short เงินบาทอยู่นั้น อาจเริ่มทยอยขายทำกำไรหรือลดสถานะ short ลงบ้างคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นอกจากนี้ ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติที่ยังคงเป็นฝั่งขายสุทธิสินทรัพย์ไทย ยังคงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กดดันให้เงินบาทผันผวนในฝั่งอ่อนค่า ซึ่งเรามองว่า แรงขายหุ้นไทยอาจเริ่มชะลอลงได้บ้าง แต่แรงขายบอนด์ไทย อาจยังมีต่อได้ จนกว่าที่บอนด์ยีลด์ระยะยาว อาทิ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ จะเริ่มแกว่งตัว sideways หรือ ย่อตัวลงได้บ้าง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ หากตลาดเริ่มคลายกังวลแนวโน้มการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟด หรือ ตลาดกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจถดถอยมากขึ้น